หุ้น IT บริษัท Gartner กินรวบตลาดข้อมูล Infomation Technology โลก [Review]
(เกือบ) ทุกบริษัทที่ต้องการทำ Digital Transformation ต้องใช้ !!!
ณ.ปัจจุบันหลายๆบริษัทต้องทำ Tech Transformation กันอย่างหนักหน่วง เพื่อไม่ให้ถูก Disrupt จาก Technology แต่ปัญหาสำคัญคือบางบริษัทไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ไม่มี Know-how บางครั้งจะขยายไปทำ Cloud ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไปทำไม ต้องใช้อะไรบ้าง การจะรับสมัครหา IT Specialist ก็หายากสุดๆ สุดท้ายต้องหันไปหาที่ปรึกษาด้าน IT มุมมองจากคนนอกหรือผู้เชี่ยวชาญกว่ากลายเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยวางกลยุทธ์และการจัดการธุรกิจ แนะนำเครื่องมือ บริหารจัดการข้อมูลในทิศทางที่ถูกต้อง นี่คือธุรกิจของหุ้น IT หรือ Garnter ครับ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี เรียกได้ว่ารับการเติบโตของโลกยุคใหม่ไปด้วยเลย
ระหว่างที่พวกเราทำข้อมูลหุ้น Tech หลายๆตัว มีการ Mention ถึง Gartner และ Magic Quadrant ที่เป็น Product หลักของบริษัทเยอะมาก หลายๆคนเองถ้าอ่าน Deep Dive ของ Trendlongtun ก็น่าจะเคยเห็นพวกเรา Mention ถึงบ่อยๆ วันนี้เลยต้องมารีวิวซักหน่อย
ธุรกิจของ Gartner
Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ ชื่อย่อ IT มีรายได้จากการทำ research ให้คำแนะนำ จัด conference ให้องค์กร
Gartner แบ่งประเภทธุรกิจได้ 2 ส่วนหลัก คือ
Gartner Technology Sales (GTS) ให้คำปรึกษา กลยุทธ์ และข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยีจากส่วนนี้คิดเป็น 80% ของ contact value ทั้งหมดกับลูกค้า
Gartner Business Sales (GBS) ให้คำปรึกษากับบริษัทด้านธุรกิจ ดูแลตั้งแต่ทั้งธุรกิจตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งระบบ HR, supply chian, marketing รายได้จากส่วนนี้คิดเป็น 20% ของ contact value ทั้งหมดกับลูกค้า
ถ้าแบ่งจากผลิตภัณฑ์ Q3/2023 Gartner มีรายได้หลักจาก research ประมาณ 86.5%, consulting 9.5% และจัด conference 4%
Research ของ Gartner เจาะข้อมูลอย่างลึกจากการพาร์ทเนอร์กับองค์กรด้านเทคโนโลยี ทำให้มีรายงานเกี่ยวกับตลาดที่ลูกค้าทำธุรกิจ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
ส่วนบริการ Consulting ให้คำปรึกษาแบบ tailor-made และเข้าไปช่วยในขั้นตอนเอาคำปรึกษาไปใช้ทำกลยุทธ์จริง
Conference เป็นแพลตฟอร์มสัมมนาทั้ง Offline และ Online ที่ลูกค้าเข้ามาหาข้อมูลจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญ และได้ข้อมูลเชิงลึกจากทั้งเทรนด์และนวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม
ดูแล้ว Gartner วางแผนกระจายพอร์ตรายได้ อาจยังกระจุกที่ Research แต่การมีแพลตฟอร์มนี่ก็ช่วยให้บริษัทมีข้อมูลใช้ในระยะยาว แถมเป็นการสร้างแหล่ง Community ช่วยดึงลูกค้า สร้าง royalty ไปพร้อมกัน
Gartner ขยายธุรกิจไปทั่วโลกประมาณ 85 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปี 2022 มีรายได้หลัก 66% จากสหรัฐฯ และแคนาดา ตามด้วย ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวม 23% และอื่นๆ 11%
จุดเด่นอื่นนอกจากข้อมูลเจาะลึกแล้ว ยังมาจากการเจาะลูกค้าระดับ C-level ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่
อีกอย่าง คือ รายได้ค่อนข้างมั่นคงเพราะบริษัทใช้โมเดล subscription-based โดยเฉพาะกับบริการ research ซึ่งส่วนนี้มีรายได้จาก subscription 91% และ non-subscription 9% จุดนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญมากๆของ Gartner
Gartner เผยประมาณการการใช้จ่ายด้าน IT ปี 2024 จะเติบโต 8% พอเจาะไปแต่ละหมวดแล้วก็มีกลุ่มย่อย cloud ซึ่งอยู่ใน Data center systems ที่ยังโตได้ถึง 20.4%
cybersecurity ที่อยู่ใน software ก็เป็นอีกส่วนที่มีแรง ขาดไม่ได้แล้วสำหรับยุคนี้ น่าจะโตไปได้ยาวๆ
ในเมื่อรู้ทิศทางว่าส่วนไหนจะเติบโต บริษัทน่าจะวางกลยุทธ์เจาะฐานลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งถ้าได้มาเพิ่ม นอกจากช่วยเพิ่มรายได้แล้ว ยังช่วยกระจายพอร์ตลูกค้าด้วย
ซึ่งจากข้อมูลทุกเสียงมองว่า Gartner เป็นระดับ expert ด้าน IT ก็ไม่น่าพลาดโอกาสนี้ไปได้
ถามว่าทำไม Gartner ไม่น่าพลาดโอกาสนี้ เพราะมี MOAT อย่างหนึ่งที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม คือ Magic Quadrant
Magic Quadrant คือ รายงานที่วิเคราะห์คุณภาพ ทิศทาง พัฒนาการเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ และแยกตามหมวดเทคโนโลยี ดูจาก Completeness of Vision และ Ability to Execute
นี่ช่วยให้ลูกค้าหาผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการ เปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนระหว่าง vendor Gartner ก็มีบริการเด่นที่ดึงลูกค้าไว้กับตัวเองได้นานเพราะองค์กรส่วนใหญ่มักจะต้องพึ่งพิงข้อมูลจาก Gartner ในการตัดสินใจด้าน IT
เพราะการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการด้าน IT บางอย่างไม่ใช่เรื่องการจ่ายเงินหลักแสนดอล แต่อาจจะมากถึง 1-10 ล้านเลยทีเดียว ความผิดพลาดในการเลือก Vendor ผิดเจ้า Cloud ผิดตัว ไม่ตรงความต้องการคือความเสี่ยงก้อนใหญ่มากๆ ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จึงต้องพึ่ง Gartner เป็นหลักทั้งบริษัทที่จะซื้อ และบริษัทที่จะขาย
งบการเงินของ Gartner
Gartner รายงานรายได้ที่เติบโต YoY แต่นิ่งหากเทียบ 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา
Contract value (CV) เป็นอีก Metric ของงบบริษัท ซึ่งวัดจากมูลค่า Contract subscription-based ในไตรมาสนั้น นอกจากบอกว่าบริษัทมีโอกาสเติบโตระยะสั้นขนาดไหนแล้ว ยังบอกว่าระยะยาวรายได้จะมั่นคงมากขึ้นหรือไม่ เพราะจัดเป็นรายได้ recurring ไปอีกหลายปี
ตอนนี้ CV อยู่ที่ $4,700 million เพิ่มขึ้น 8.1% (YoY) มาจาก GTS $3,600 million เพิ่มขึ้น 6.5% (YoY) และ GBS $1,000 million เพิ่มขึ้น 14% (YoY) ที่เหลือมาจากอื่นๆอีกเล็กน้อย
ผู้บริหารเผยว่า GTS เจอความผันผวนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี คาดว่ายอดขายให้บริษัท vendor จะกลับมาปกติใน 12-18 เดือนข้างหน้า
GTS มี retention rate 102% ลดจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยที่ 107% ส่วน GBS อยู่ที่ 108% ลดจากไตรมาสก่อนที่ 114% ภาพรวม retention แม้ลดลงแต่ยังแกร่ง ตัวเลขเกิน 100% ถือว่าได้ลูกค้าเพิ่มอยู่
EBITDA อยู่ที่ $297.7 million ลดลง 2.07% (YoY) จากส่วนค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มขึ้นเทียบกับ Q3/2022 ส่วน Free cash flow $302.5 million เพิ่มขึ้น 6.96% (YoY)
กำไรสุทธิ $180 million เพิ่มขึ้น 3.74% (YoY) Net Margin 12.78% ลดลงเล็กน้อยจาก Q2/2023 ที่ 13.17% และ Q3/2022 ที่ 13.03% มองภาพรวมบริษัทเพิ่ม Margin มายืนเลข 2 หลักได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ถือว่าทีมบริหารทำได้ดีมาก
มุมมองระยะสั้นยังสดใส หลังผู้บริหารปรับประมาณการปี 2023 เพิ่มรายได้จาก $5,850 million มาที่ $5,890 million และ Free cash flow จาก $975 million มาที่ $1,025 million
Valuation
กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี ดึง P/E ตอนนี้มาที่ 35.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2019 ที่ 50.3 เท่า เรียกว่า P/E สูงแต่มูลค่าไม่แพง สำหรับ Business Model ที่แทบจะเสก Value จากอากาศ ขายข้อมูลแบบ Gartner เทียบกับหุ้นแบบอื่นอาจจะดูตึง แต่ถ้าเทียบกับคุณภาพแล้วถือว่ายังพอให้ผ่านได้ แต่คงต้องคาดให้ Gartner กลับมาโตให้ได้จากไตรมาสล่าสุดที่โตเพียงแค่ 5% ถ้าโตได้มากขึ้นก็จะกด P/E ลงมาได้เอง
ซึ่งข่าวดีคือผู้บริหารมีการเพิ่มประมาณการรายได้กำไร และถ้าสถานการณ์ด้าน IT กลับมาเป็นปกติ การใช้งบก็น่าจะกลับมา สร้างการเติบโตอีกครั้ง
เทียบกับคู่แข่งในตลาดที่คล้ายกันอย่าง Forrester มี P/E อยู่ที่ 219.9 เท่า (ก่อนหน้านี้อยูที่ประมาณ 40-80 เท่า) พอดูกำไรที่ยังปริ่มๆ จะขาดทุนแล้วมองว่า Gartner แกร่งกว่า น่าสนใจกว่ามาก
โดยรวมมองว่า Valuation น่าสนใจ กำไรเสถียร ธุรกิจยังแกร่งเทียบกับคู่แข่ง ถ้ารอนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการก็ถือว่าเอาชัวร์ แต่ก็ต้องแลกด้วยว่าอาจช้าไปนิด ราคาวิ่งไปบ้างแล้ว
ความเสี่ยง
การเปลี่ยนแปลงเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่คุ้นเคยสำหรับคนลงทุนหุ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี สำหรับบริษัทที่ปรึกษาแล้ว ยิ่งต้องเร่งติดตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ข้อมูลมาขายลูกค้าทันเวลา ซึ่งถ้าช้ากว่าคู่แข่งก็อาจเปิดช่องเสียลูกค้าได้ (เมื่อ contract หมดสัญญา)
พูดถึงคู่แข่ง นี่เป็นความเสี่ยงหลักของ Gartner เริ่มจากเจ้าใหญ่อย่าง IBM มาพร้อมความครบถ้วน เสนอทั้งคำปรึกษาและเครื่องมือที่บริษัทมีอยู่แล้วให้ลูกค้า รวมถึงการ Bundle Solution ที่มากกว่า
และยังมีคู่แข่งระดับใกล้เคียงกันแต่เสนอบริการด้านอื่น เช่น สำหรับบริษัทที่มี R&D ที่ปรึกษาครบแล้ว ต้องการข้อมูลทางเลือกก็มี QMarkets, ถ้าต้องการข้อมูลเจาะจงธุรกิจ มีคู่แข่งเน้นด้านนี้โดยเฉพาะ อย่าง Nielsen เด่นด้านโฆษณาและมีเดีย, Bain & Company สำหรับลูกค้าเน้นบริการปรึกษาแบบ customized ไม่ต้องการ event หรือ networking ส่วน Forrester ทำธุรกิจคล้าย Gartner เป็นคู่แข่งโดยตรงก็ว่าได้
สุดท้ายก็มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน ถ้าชะลอตัวจริงในปีหน้า อาจกระทบรายได้ที่มาจากการลงทุนด้าน IT ของบริษัทต่างๆ